ถ้าหากอยากจะชมดอกไม้สวยๆ และสัมผัสกับหมอกลมหนาวลองมาชม ดอกพญาเสือโคร่ง หรือที่คนไทยมักชอบเรียกกันว่า ซากุระเมืองไทย ที่จะทำให้ทุกท่านได้ซึมซับไปกับบรรยายกาศและได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ ไม่ต้องไปถึงญี่ปุ่นก็สามารถที่จะชมดอกซากุระกันได้ เพราะประเทศไทยก็มีซากุระเหมือนกันเพียงแค่มาที่ ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
ดอกพญาเสือโคร่ง
ดอกพญาเสือโคร่ง หรือดอกนางพญาเสือโคร่งนั้น เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่พอออกผลแล้ว ผลของดอกนางพญาเสือโคร่งนั้นจะสามารถนำมารับประทานได้ ตัวผลของนางพญานั้นจะมีรสเปรี้ยว
ส่วนตัวดอกไม้นั้นมีลักษณะเป็น สีขาว ชมพู หรือแดง กลีบดอกมี 5 กลีบเมื่อบานหรือสุกแล้วกลีบของดอกไม้นั้นจะมีลักษณะเป็นสีแดง ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้จะคล้ายๆกับดอกซากุระ ของประเทศญี่ปุ่น
นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่นคือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น
จึงมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลายสวยงามตามพันธุ์ของดอกไม้
ดอยอ่างขาง
โดยคำว่า “อ่างขาง” ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบ ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบแต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ดอยอ่างขางนั้นมีหมู่บ้านชาวเขาภายในสถานีฯ เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม ภายในดอยอ่างขางนั้นจะมีทั้งหมด6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งจะประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ
สำหรับสภาพอากาศในบริเวณนี้จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 17 องศาเซลเซียส อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศจะเย็นมากจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการรับลมหนาว เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว
ไฮไลท์ของการมาเที่ยวดอยอ่างขาง คือการเข้าชมดอกไม้เมืองหนาว แปลงพืชผักผลไม้ต่างๆ ไร่ชา ไร่สตรอว์เบอร์รี่ จุดชมวิวที่งดงาม อีกทั้งยังโดดเด่นด้วยต้นนางพญาเสือโคร่ง ที่บานสะพรั่งอวดสีสันให้ได้ชมตลอดทางขึ้นอ่างขึ้นอ่างขาง ไปจนถึงด้านในสถานีเกษตรวิจัยหลวง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวงอยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
กล่าวว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศ
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นๆของประเทศได้จึงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง
และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง
จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อนและไม่ผิดกฎหมาย
ในปีพ.ศ. 2560 สถานนีแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ เช่น ไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรชาวเขา ได้เรียนรู้และเข้าใจในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”
ภายในโครงการนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อีกมาก เช่น แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกผักในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก สวนซากุระ สวนท้อ สวนเมเปิ้ล สวยบ๊วย และพระตำหนักอ่างขาง ชมวิวสวยๆกับน้ำตกธรรมชาติ