สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเนย์ปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ว่าพล.อ.มิน อ่อง ลาย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาร์ แถลงสุนทรพจน์ท่ามกลางทหารกว่า 10,000 นาย เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 70 แห่งวันกองทัพเมียนมาร์ ยืนยันจุดยืนของกองทัพในการให้ความสนับสนุนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อร่วมกันจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นภายในช่วงต้นเดือนพ.ย.ปีนี้ ให้มีความโปร่งใสและยุติธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเมียนมาร์ ที่จะก้าวเข้าสู้ถนนสายประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ
พล.อ.มิน อ่อง ลาย กล่าวด้วยว่า กองทัพจะไม่อดทนต่อทุกการกระทำที่สื่อถึงเจตนาของการสั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองภายในเมียนมาร์ และการละเมิดกฎหมายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อาวุธร้ายแรงหรือการข่มขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร หากตรวจพบเป็นไปเพื่อทำลายการเลือกตั้งครั้งสำคัญนี้ กองทัพจะจัดการสถานการณ์ดังหล่าว “ตามความเหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สันทัดกรณีวิเคราะห์ว่า ยังคงเป็นการยากที่ระบบการเลือกตั้งของเมียนมาร์จะบริสุทธิ์และโปร่งใสเต็มร้อย เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุเรื่องการจัดสรรที่นั่งในสภาร้อยละ 25 ให้แก่ทหาร ขณะที่นางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ( เอ็นแอลดี ) ยังคงไม่ได้รับสิทธิ์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยเหตุที่สามีเป็นชาวอังกฤษ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ยังคงห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีคู่สมรสและบุตรเป็นชาวต่างชาติมีโอกาสทางการเมืองในการลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้นำประเทศ
สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพี รายงานจากกรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ว่า พลจัตวาซอ มิน ตุน โฆษกกองทัพเมียนมา แถลงว่า อาจมีการทุจริตในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางอองซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่พรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพ ออกมาคัดค้านผลการเลือกตั้ง อ้างว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง ตรวจสอบแล้ว 8.6 ล้านราย
โฆษกกองทัพเมียนมา ยืนยันว่า กองทัพจะออกมาเคลื่อนไหวและปฏิบัติการตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากยังไม่แก้ไขข้อขัดแย้งนี้
รายงานข่าวระบุว่า กองทัพหมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะกองทัพต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่ตรงกัน
พรรคเอ็นแอลดีอ้างถึงชัยชนะจากผลการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งที่สองแล้ว นับตั้งแต่เมียนมาสิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ระหว่างนั้น มีผู้สนับสนุนของพรรคเอ็นแอลดีถูกดำเนินคดีไปหลายคน
โฆษกของพรรคเอ็นแอลดีเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้พิจารณาว่ามีการทุจริตหรือโกงเลือกตั้งหรือไม่ ส่วนโฆษกของคณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ
ตามรัฐธรรมนูญนั้น กองทัพเมียนมาจะได้ดูแลกระทรวง 3 กระทรวง และโควตาสมาชิกในสภาร้อยละ 25 เพื่อเป็นหลักประกันว่ากองทัพยังคงเป็นตัวแปรสำคัญในการเมืองเมียนมา
เมื่อผู้สื่อข่าวถามโฆษกกองทัพเมียนมาว่า จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลของพรรคเอ็นแอลดีและสภาชุดใหม่ที่จะเปิดประชุมในวันที่ 1 ก.พ.หรือไม่ โฆษกกองทัพเมียนมา กล่าวว่า ต้องรอดูสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่เขาก็ไม่ตัดประเด็นการรัฐประหาร บอกแต่ว่ายังพูดไม่ได้ กองทัพจะใช้การกระทำทุกอย่างที่ทำได้ รวมถึงการส่งเรื่องให้ศาลฎีกาพิจารณา และที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
การเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2553 ขณะที่ผมเขียนคอลัมน์วันนี้ แม้เวลาจะล่วงเลยมาแล้วถึง 4 วัน แต่ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก็ยังไม่ประกาศ เพียงแต่รู้ว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอองซานซูจีชนะเลือกตั้งถล่มทลาย
การเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้ พ.ศ.2558 พรรคของนางซูจีชนะ แต่การเลือกตั้งใน พ.ศ.2563 ครั้งนี้ชนะมากกว่า พ.ศ.2558 เยอะ ก่อนหน้านี้ทุกคนเชื่อว่า นางซูจีจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก่อนการเลือกตั้ง พวกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้สร้างพรรคของตัวเองขึ้นมา หลายพรรคก็มาจากพรรคเล็กรวมกัน ทุกพรรคจากกลุ่มชาติพันธุ์มุ่งหาเสียงเต็มที่ แต่ก็พลิกล็อกครับ เพราะประชาชนคนเมียนมามองในภาพใหญ่มากกว่า
ผู้สมัครของพรรคนางซูจีก็เลือกมาจากคนในกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละแห่งด้วย และผลการเลือกตั้งก็ชนะผู้สมัครจากพรรคชาติพันธุ์ ส่วนที่หักปากกาเซียนก็คือการทำนายทายทักว่าพรรคสหสามัคคีและการพัฒนาของอดีตนายทหารจะได้คะแนนจากผู้คนเผ่าพันธุ์พม่ามากขึ้น ทว่ากลับแพ้หลุดลุ่ย แม้แต่เขตมัณฑะเลย์ซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคสหสามัคคีฯ พรรคของนางซูจีก็ยังชนะ ส่วนพรรคอื่นๆก็ไม่ได้คะแนนดี มีคนที่ออกจากพรรคนางซูจีมาตั้งพรรคใหม่ ตอนแรกก็คะแนนนิยมดีมาก แต่พอเลือกตั้งเสร็จแล้วก็รู้ว่ากินแห้ว
ใครที่จะชนะเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญต้องมี ส.ส.ไม่ต่ำกว่า 322 คน จาก 425 ที่นั่ง ถึงจะเสนอผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดีและได้จัดตั้งรัฐบาล ในการเลือกตั้ง พ.ศ.2558 พรรคของนางซูจีได้ส.ส. 390 คน แต่ครั้งนี้คาดว่าจะได้มากกว่า การที่ได้คะแนนมากขนาดนี้ ก็เป็นไปได้ว่าพรรคนางซูจีอาจจะเริ่มตั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันให้ทหารเข้าไปเป็น ส.ส.โดยที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งร้อยละ 25 ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาก็จะเป็นประเทศประชาธิปไตยสากลสมบูรณ์
การเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563 ผลการเลือกตั้งก็ล่าช้า แล้วก็แปลกที่ฝ่ายแพ้ประกาศว่าจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ที่เมียนมาก็เหมือนกัน ตอนนี้บรรดาผู้คนจากพรรคสหสามัคคีฯ ก็ออกมาตะโกนก้องร้องลั่นว่าไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และมองว่ารัฐบาลของนางซูจีโกงการเลือกตั้ง
อาจารย์นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เคยได้รับเชิญเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ในตอนนั้น รัฐบาลอุซเบกิสถานอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์นานาชาติเดินทางไปได้ทุกตรอกซอกมุมของประเทศในเมียนมาครั้งนี้ ทราบว่ารัฐบาลของนางซูจีก็ดำเนินการอย่างนี้เช่นกัน และเท่าที่ตามข่าวจากผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งนานาชาติ ทุกคนบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ส่วนมากขาวสะอาด มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยดูเหมือนจะไม่ค่อยโปร่งใส