สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ว่าธนาคารกลางมาเลเซียเผยรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศประจำไตรมาแรกของปีนี้ ว่าขยายตัวร้อยละ 4.2 ดีกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ซึ่งประมาณการเอาไว้ที่ร้อยละ 4.0 อย่างไรก็ตาม สถิติที่ออกมาสะท้อนว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียเผชอญกับภาวะชะลอตัวมากที่สุด นับตั้งแต่ถดถอยร้อยละ 1.1 เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2552
นอกจากนี้ ยังถือเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแล้วที่เศรษฐกิจของมาเลเซียประสบกับภาวะชะลอตัว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี ) ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 4.5 อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของภาคการส่งออก และอุปสงค์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลก รวมถึงราคาโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรที่สำคัญ
พิษ COVID-19 สะเทือนเศรษฐกิจมาเลเซีย หดตัวมากที่สุดในรอบ 22 ปี โดยในไตรมาส 2 จีดีพีติดลบกว่า 17.1% หลังการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ที่ส่งผลต่อการบริโภคเเละการท่องเที่ยว
ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 ของมาเลเซียหดตัวมากถึง -17.1% เมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว ทำให้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากจีดีพียังหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส โดยนับว่าแย่ที่สุดตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 1998 ที่มาเลเซียต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินเอเชีย ซึ่งตอนนั้นติดลบที่ 11.2%
เศรษฐกิจของมาเลเซียนั้นส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการค้า การส่งออกและการท่องเที่ยว โดยมีสินค้าส่งออกหลัก ๆ ได้เเก่น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย ระบุว่า เศรษฐกิจมาเลเซียจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากมาตรการสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ถูกผ่อนคลาย เเละจะฟื้นตัวต่อไปในปีหน้าไป พร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจมาเลเซียยังมีความเสี่ยงอยู่มาก เเละกำลังมุ่งหน้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากอุปสงค์และกิจกรรมทางธุรกิจ ยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ธนาคารกลางมาเลเซีย ปรับลดเป้าจีดีพีของทั้งปีนี้ลง โดยคาดว่าจะหดตัวอยู่ในช่วงติดลบ 3.5% ถึงติดลบ 5.5% ก่อนที่จะฟื้นตัวในปีถัดไปในช่วง 5.5% ถึง 8% ขณะที่สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ในมาเลเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมล่าสุด อยู่ที่ราว 9 พันราย
เดินทางมาถึงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2563 กันแล้ว ตลอดปีที่ผ่านมา เรียกว่ามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย แต่ที่เผชิญเหมือนๆ กันทั้งโลก ก็คงหนีไม่พ้น “วิกฤติโควิด-19” ที่บอบช้ำกันถ้วนหน้า นับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปลายปี สถานการณ์ก็ยังไม่คลี่คลาย เกิดการระบาดระลอกใหม่ บางประเทศเป็นคลื่นลูกที่ 3 แล้ว ส่วนประเทศไทยเองก็เจอคลื่นลูกที่ 2 รุนแรงกว่าคลื่นลูกแรกมาก เพราะเป็นแบบ “คลัสเตอร์!!”
ซึ่งพอเห็นตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่แต่ละวันๆ แล้ว ก็ตึงเครียดไม่น้อย เพราะนั่นหมายความว่า อนาคตการเปิดประเทศย่อมเป็นไปได้ยาก อย่างญี่ปุ่นที่ออกมาประกาศสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา งดรับเที่ยวบินต่างชาติทุกประเทศจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้น และแม้ไทยไม่ได้ปิดจนถึงขนาดนั้น แต่ก็ไม่ได้สบายใจเท่าไร เพราะถึงไม่ปิด แต่เที่ยวบินระหว่างประเทศเพื่อการท่องเที่ยวก็ยังเปิดไม่ได้อยู่ดี แถมพอมีข่าวการติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มเข้ามา คนก็กล้าๆ กลัวๆ ที่จะออกไปเที่ยวกันอีก พอจบวิกฤตินี้… ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นรายเล็ก รายน้อย ไปจนถึงกลางๆ อาจต้องจากลา…
ย้อนกลับไปช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ผู้เขียนนึกถึงคำพูดหนึ่งของ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่กล่าวปาฐกถาภายในงาน SHARING OUR COMMON FUTURE ร่วมแรง เปลี่ยนแปลง แบ่งปัน ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยปี 2564” ไว้ว่า…
“รายงานล่าสุดของ IMF มีการปรับการพยากรณ์การถดถอยทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ของประเทศไทยให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่เหลือปรับลดลงหมดเลย… ถ้าเป็นไปตามทิศทางที่กล่าวมา เชื่อว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า ดีและดีกว่าในอาเซียน… หากยังจำกันได้ หลายคน นักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน เคยบอกว่า ประเทศไทยจะมีการเติบโตน้อยที่สุดในอาเซียน วันนี้ผมคิดว่าไม่ใช่ ถึงสิ้นปีเดี๋ยวเรารอดูกัน”
ผู้เขียนขอเน้นประโยคเด็ดอันน่าสนใจที่ว่า “ประเทศไทยจะมีการเติบโตน้อยที่สุดในอาเซียน วันนี้ผมคิดว่าไม่ใช่…” หากสรุปง่ายๆ ความหมายก็คือว่า “ไทยไม่ได้แย่ที่สุดในอาเซียน (แน่นอน ฟันธง!!)”
แถมท่านยังบอกอีกว่า “ถึงสิ้นปีเดี๋ยวเรารอดูกัน”
เมื่อท่านบอกมาแบบนี้ ผู้เขียนก็เลยคิดอยากเปิดย้อนดูสถิติตัวเลขกันหน่อยว่า ตลอดปี 2563 นี้ (1 ม.ค.-27 ธ.ค.) ไทยไม่ได้แย่ที่สุดในอาเซียนอย่างที่คนเขาสบประมาท และตรงตามที่ท่านรองนายกฯ บอกไว้ไหม…
หากสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่า ปี 2563 ประเทศไทยที่เป็นเส้นสีเขียวเข้มนั้น ปลายแหลมพุ่งลงมาล่างสุดของบรรดาเส้นประเทศอื่นๆ ในอาเซียนทั้งหมด อยู่ที่ -7.1% โดยมีเพื่อนบ้านตามมาติดๆ 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและสิงคโปร์ ที่ต่าง -6% เท่ากัน และแม้จะมีบางประเทศที่พ้นเส้นติดลบ เช่น เวียดนาม (1.6%) เมียนมา (2%) ลาว (0.2%) บรูไน (0.1%) แต่ทั้งหมดล้วนปลายแหลมพุ่งลงดิ่งทั้งสิ้น
ซึ่งหากมองแค่นี้… ก็อาจแย้งคำพูดข้างบนได้ว่า “นี่ไง…ไทยแย่ที่สุดในอาเซียน!!”
แต่…เราจะไม่รีบด่วนสรุปขนาดนั้น
จากกราฟข้างบน เราก็พอจะคัดเลือก “ผู้ท้าชิง” ประเทศที่เศรษฐกิจแย่ที่สุดในอาเซียน ปี 2563 แข่งกับไทยได้ด้วยกัน 2 ประเทศ นั่นคือ “มาเลเซียและสิงคโปร์” ส่วนเวียดนามนั้น…แม้จะเป็นคู่แข่งกันในทุกๆ เรื่อง (ปีนี้ถูกจับเทียบกันบ่อยมาก) แต่สำหรับตำแหน่งนี้คงต้องตัดรายชื่อทิ้งไปได้เลย เพราะถึง GDP ไตรมาส 3 เราจะดีขึ้นจากไตรมาส 2 คือ จาก 12.1% ซึ่งหนักที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2541 ช่วงวิกฤติการเงินเอเชีย (-12.5%) มาเป็น 6.4% แต่เขากลับเติบโตขึ้น 2.6% ยังยากที่จะไล่ตามในเวลานี้…
แต่ก่อนจะไปเทียบกับ 2 ประเทศนั้น เรามาเช็กตัวเลขของประเทศไทยกันก่อน ซึ่งจากภาพรวม GDP ไตรมาส 3 ที่ดีขึ้น แน่นอนว่า ในส่วนอื่นๆ ก็ย่อมดีขึ้นตาม เริ่มตั้งแต่การจับจ่ายการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง 0.6% ดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ลดลง 6.8% ขณะที่ กิจกรรมการบริการที่พักและอาหาร หลังไตรมาส 2 หดตัว 50.2% พอมาไตรมาส 3 มีการหดตัวลดลง อยู่ที่ 39.6%
และเมื่อในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ทั่วโลกมีสัญญาณการฟื้นตัว ก็ทำให้การส่งออกสินค้าเริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยไตรมาส 3 ลดลงเพียง 7.7% ดีกว่าไตรมาส 2 ที่หดตัวถึง 15.9% สวนทางกับการส่งออกภาคบริการที่หดตัวอย่างหนัก 73.3% มากกว่าไตรมาส 2 ที่หดตัว 68%
อย่างไรก็แล้วแต่…ก็ยังพอพยากรณ์เศรษฐกิจไทยได้ว่า ทั้งปี 2563 อาจหดตัว 6.0% จากที่เคยคาดการณ์ว่า อาจหดตัวมากถึง 7.3-7.8% และมองว่า ปี 2564 จะกลับมาเติบโตอีกครั้งได้ 3.5-4.5%
จากการหดตัวอย่างหนัก 17.1% ในไตรมาส 2 ปี 2563 (Q1: -16.4%) พอมาถึงไตรมาส 3 แม้จะยังติดลบอยู่ แต่ก็ดีขึ้นกว่าเดิมมาก พยุงขึ้นมาอยู่ 2.7% โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ไตรมาส 3 ของมาเลเซียฟื้นกลับมา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่เติบโตขึ้น 3.3% เทียบกับไตรมาสที่แล้ว 18.3% ในส่วนการส่งออกสินค้ายังคงหดตัว 4.7% แต่ก็ถือว่าดีขึ้นจากไตรมาส 2 มากๆ เพราะตอนนั้นหดตัวถึง 21.7% ทีเดียว
ในภาพรวมไตรมาส 3 ของมาเลเซีย ถือว่าดีขึ้นมาก ไม่ได้หนักหนาเท่าไตรมาส 2 ที่ติดลบเลข 2 หลักเกือบทุกอย่าง เหลือเพียงภาคการก่อสร้างที่ยังติดลบเลข 2 หลักอยู่ คือ 12.4% จากไตรมาส 2 หดตัว 44.5% นั่นทำให้ทั้งปี 2563 มีการประมาณการ GDP ไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 4.5-3.5%
ทั้งนี้ สำหรับเศรษฐกิจมาเลเซียนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาส 3 ปีที่แล้วขยายตัว 4.4% โดยมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2564 จะกลับมาโต 6.5-7.5% เลยทีเดียว